Support
บูลบัค
094-8841621 Fax : 02-5182764-5,7
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ชั้นคุณภาพน้ำมันเครื่องเบนซิน และคุณสมบัติการใช้งาน (มาตรฐาน API)

bullbuckauto | 18-12-2561 | เปิดดู 1842 | ความคิดเห็น 0

ชั้นคุณภาพน้ำมันเครื่องเบนซิน และคุณสมบัติการใช้งาน (มาตรฐาน API)

ชั้นคุณภาพ

คุณสมบัติ

SA

สำหรับเครื่องยนต์รุ่นเก่า และสภาพงานเบา (เครื่องยนต์รุ่นเก่า คือสเปคตามรุ่น เครื่องยนต์ ไม่ใช่เพราะเครื่องยนต์เก่า) น้ำมันเครื่องไม่มีการเติมสารเติมแต่ง และไม่ได้กำหนดการทดสอบทางเครื่องยนต์ไว้ ชั้นคุณภาพนี้ไม่แนะนำแล้วสำหรับ เครื่องยนต์เบนซินปัจจุบัน

SB

สำหรับเครื่องยนต์สภาพงานเบา ตั้งแต่ปี 1930 มีสารเพิ่มคุณภาพ เล็กน้อย ในการ ป้องกันการสึกหรอ และการกัดกร่อน ชั้นคุณภาพนี้ไม่แนะนำแล้วสำหรบเครื่องยนต์ ปัจจุบัน

SC

สำหรับเครื่องยนต์รุ่นปี 1964-1967 พัฒนาด้านการรักษาความสะอาด ป้องกันการ สะสมคราบเขม่า การกระจายสิ่งสกปรก ป้องกันการสึกหรอ การเกิดสนิม การกัดกร่อน

SD

สำหรับเครื่องยนต์ปี 1968 - 1970 และสำหรับปี 1971 บางรุ่น มีการเติมสารเติมแต่ง มากกว่า SC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการรักษาความสะอาดป้องกันการสะสม ของคราบเขม่า กระจายสิ่งสกปรก, ป้องกันการสึกหรอ, การเกิดสนิม, การกัดกร่อน

SE

สำหรับเครื่องยนต์ตั้งแต่ปี 1972 - 1971 บางรุ่น มีการเติมสารเติมแต่ง มากกว่า SC และ SD พัฒนาในด้านความต้านทาน การรวมตัวกับ๊ออกซิเจน (ANTIOXIDATION) เพิ่มประสิทธิภาพป้องกันสนิม และการกัดกร่อน

SF

สำหรับเครื่องยนต์ ปี 1980 มีสารต้านการรวมตัวกับอ๊อกซิเจน ในอากาศ คุณสมบัติ รักษาความสะอาด การป้องกันคราบสกปรก ต้านทานการสึกหรอได้ดีกว่า SE

SH

สำหรับเครื่องยนต์ปี 1994 ควบคุมเข้มเรื่องปริมาณฟอสฟอรัน (P) ที่เป็นองค์ประกอบ ของสาร ANTIWEAR และ ANTIOXIDANT ควบคุมปริมาณธาตุ P ไม่เกิน 0.12% โดยน้ำหนัก เนื่องจากธาต (P) ไปขัดขวางประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ลด มลพิษในไอเสีย (CATALYTIC CONVERTER) โดยกำหนดให้น้ำมันเครื่องในขณะนั้นมีความหนืดไส SAE 5W-30 และ 10W-30 เพราะน้ำมันเครื่องไสจะมีโอกาสไหลลงไปเผาไหม้ รวมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ทำให้ มีธาตุ (P) ปะปนออกมาทางท่อไอเสีย แต่การลดธาตุ (P) มากเกินไป จะส่งผลกระทบ ต่อประสิทธิภาพด้านป้องกันการสึกหรอ จึงได้กำหนดขั้นต่ำ โดยไม่ให้ต่ำกว่า 0.6% โดยน้ำหนัก

SJ

สำหรับเครื่องยนต์ ปี 1997 เป็นชั้นคุณภาพที่ผ่านการทดสอบ ทางเครื่องยนต์ เช่น เดียวกับ SG และ SH แต่มีการควบคุมการสะสม ของคราบสกปรกในอุณหภูมิสูง ได้มากกว่า และควบคุมปริมาณธาติ (P) เข้มงวดขึ้น ไม่เกิน 0.10% โดยน้ำหนัก สำหรับความหนืด SAE 0W-20, 5W-20, 5W-30, 10W-30 การพัฒนาน้ำมันเครื่อง มีแนวโน้มไสขึ้น เพื่อนำไปใช้ได้กับเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่ประหยัดเชื้อเพลิง

SL

ใช้ปี 2001 พัฒนาด้านการทำความสะอาดเครื่องยนต์ เกณฑ์ทดสอบเข้มงวดขึ้น ด้านการสะสมคราบสกปรกในอุณหภูมิสูง เน้นการประหยัด และยืออายุน้ำมันเครื่อง (EXTENDED DRAIN INTERVAL) สำหรับปริมาณธาตุ (P) ยังคงเดิม เพราะหาก ลดลงไปมากกว่านี้ จะมีปัญหาเรื่อง WEAR

SM

ใช้ปี 2004 เป็นชั้นคุณภาพที่พัฒนาต่อมาจาก SL เพิ่มเติมกำหนดค่ากำมะถัน ในด้าน การป้องกัน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ จำกัดไอเสีย รวมทั้ง พัฒนาคุณสมบัติ การระเหย การต้านทานการรวมตัวกับอ๊อกซิเจน การป้องกันการสึกหรอ

SN

ใช้ปี 2010 พัฒนาต่อจาก SM โดยเพิ่มความสามารถด้านการชะล้าง ทำความสะอาด เครื่องยนต์ (DETERGENCY) มีการประเมินผลการเกิดคราบเขม่า คาร์บอนสะสมที่ ลูกสูบ (WIEGHTED PISTON DEPOSITES) ที่เข้มงวดขึ้น ต้านทานการกระจายสิ่ง สกปรก (DISPERSANCY) และเข้มงวดการวัดค่าตามที่เกิดในเครื่องยนต์

ความคิดเห็น

วันที่: 09-12-2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0



ศูนย์บริการรถยนต์ BullBuck (บูลบัค)

ที่อยู่ : 20/50 ซอยจตุโชติ 4 แขวงออเงิน เขตสายไหม กทม.
โทรศัพท์ : 094-8841621