ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเลคทรอนิกส์ (คือมีกล่องควบคุม ECU)
มี 2 แบบคือ 1 เรียกแบบ D-JETRONIC 2. เรียกแบบ L-JETRONIC ทั้ง 2 แบบมีไว้เพื่อให้หัวฉีดน้ำมัน ฉีดน้ำมันเข้าท่อไอดี ไปจุดระเบิด การออกแบบระบบการฉีดเชื้อเพลิงของหัวฉีด แตกต่างกันตามที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ออกแบบ การฉีดเชื้อเพลิงของหัวฉีดปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการยกของเข็มหัวฉีด ถ้ายกนานปริมาณน้ำมันที่ฉีดออกมาจะมาก แต่ถ้าระยะเวลาการยกของเข็มหัวฉีดน้อยปริมาณน้ำมันที่ถูกฉีดออกมาเข้าท่อไอดีก็จะน้อยด้วย จำนวนน้ำมันที่ออกจากหัวฉีดมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ว่าหัวฉีดยกสูงหรือยกต่ำ หัวฉีดทุกหัวทุกระยะความเร็วหัวฉีดทุกหัว มีระยะยกของหัวฉีดเท่ากันทุกสูบ ที่แตกต่างกันในแต่ละรอบความเร็วคือเวลาที่ใช้ในการยกว่ามากหรือน้อย นานหรือไม่นาน
การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงจะมากหรือน้อยใช้เวลาเป็นตัวบอกว่าหัวฉีดยกนานหรือไม่นาน ถ้าอย่างนั้นเวลาการยกของเข็มหัวฉีดมาจากไหน ที่มาของเวลาการยกหัวฉีดเชื้อเพลิงถูกคำนวนมาจาก 2 เงื่อนไข เงื่อนไขที่ 1 คือเวลาการฉีดพื้นฐานเงื่อนไขที่ 2 คือการเพิ่มเวลาการฉีดให้มากขึ้น มากกว่าระยะเวลาการฉีดพื้นฐาน เนื่องจากเครื่องยนต์ต้องการเชื้อเพลิงมากขึ้นเพื่อใช้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนรถไปตามคำสั่งของผู้ขับรถ เช่นการเร่งเครื่อง, การขึ้นเนินลงเนิน, การหยุดรถอย่างทันทีทันใด, หรือการเบารถขณะที่วิ่ง, หรือการจอดรถอยู่กับที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบา หรืออื่นๆ
การคำนวนหาระยะเวลาการฉีดเชื้อเพลิงพื้นฐานแต่ละแบบมีอุปกรณ์ที่แตกต่างกันดังนี้
ระบบการฉีดเชื้อเพลิงแบบ D-JETRONIC
ใช้การการตรวจจับสุญกาศด้วย VACUUM SENSOR และความเร็วรอบเครื่องยนต์ เป็นพื้นฐานในการควบคุมระยะเวลาการยกของหัวฉีดน้ำมัน จุดสังเกตุการฉีดเชื้อเพลิงเป็นแบบใด ดูได้จากอุปกรณ์ VACUUM SENSOR จะอยู่หน้าลิ้นเร่ง (ลิ้นปีกผีเสื้อ) คืออยู่ระหว่างกรองอากาศกับลิ้นเร่ง
ระบบการฉีดเชื้อเพลิงแบบ L-JETRONIC
ใช้การการตรวจจับปริมาณการไหลของอากาศด้วย AIR FLOW METER และความเร็วรอบเครื่องยนต์ เป็นพื้นฐานในการควบคุมระยะเวลาการยกของหัวฉีดน้ำมันจุดสังเกตุการฉีดเชื้อเพลิงแบบ L ดูได้จากอุปกรณ์ AIR FLOW METER จะอยู่หลังลิ้นเร่ง คืออยู่ระหว่าง ลิ้นเร่ง กับท่อร่วมไอดี
เมื่อเครื่องยนต์ต้องการเชื้อเพลิงมากขึ้นจากการใช้งานของผู้ขับรถ อุปกรณ์ต่อไปนี้จะร่วมกันทั้งหมดส่งสัญญานไฟฟ้าไปที่กล่อง ECU เพื่อให้ ECU คำนวนเพิ่มระยะเวลาการยกของหัวฉีดเชื้อเพลิง ให้มีปริมาณเชื้อเพลิงเข้าท่อไอดีมากขึ้นเพื่อใช้จุดระเบิดเพิ่มกำลังให้กับรถ (หรือหมายความว่าเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยนต์) อุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้คำนวนการเพิ่มระยะเวลา
การฉีดเชื้อเพลิงคือ
1. อุปกรณ์มาตรวัดการไหลของอากาศ ในระบบ L และอุปกรณ์วัดสุญญกาศ ในระบบ D
2. อุปกรณ์ตรวจจับอุณหภูมิน้ำ (THW)
3. อุปกรณ์ตรวจจับอุณหภูมิอากาศ (THA)
4. อุปกรณ์ตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง (TPS)
5. อุปกรณ์ตรวจจับสัญญานสตาร์ท (STA)
6. อุปกรณ์ตรวจจับสัญญานความเร็วรอบของเครื่องยนต์ (สัญญาน NE)
อัตราส่วนปริมาณ เชื้อเพลิงกับอากาศ ปกติที่เครื่องยนต์ใช้ในการจุดระเบิด และเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ที่สุดของเครื่องยนต์เบนซิน หรือเรียกเครื่องยนต์แก๊สโซลีน คือ 14.7 : 1 ปริมาณอากาศ 14.7 ส่วน ต่อปริมาณเชื้อเพลิง 1 ส่วน เป็นอัตราส่วนผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศ ที่ผู้ผลิตรถยนต์ต้องการให้เป็นอัตราส่วนนี้ในทุกระยะความเร็วรอบของเครื่องยนต์ จึงใช้อุปกรณ์ต่างๆส่งสัญญานไฟฟ้าไปที่กล่อง ECU เพื่อให้กล่องคอมพิวเตอร์ ECU คำนวนปริมาณเชื้อเพลิงให้ได้ตามสัดส่วนดังกล่าวโดยมีระยะเวลาในการยกของหัวฉีดที่แตกต่างกันตามความต้องการในแต่ละช่วงความเร็ว
เมื่อได้อัตราส่วนผสมของ อากาศ : เชื้อเพลิง (หรือเรียก ไอดี) แล้ว ลูกสูบก็จะทำการอัด ไอดี ดังกล่าวในกระบอกสูบ คือมีกระบอก และมีลูกสูบพร้อมก้าน ในกระบอกสูบ ลูกสูบทำการอัด ไอดี ภายในการบอกสูบ แบ่งพื้นที่ในกระบอกสูบเป็น10 ส่วน แล้วเอาลูกสูบอัด ไอดีในกระบอกสูบ ให้อยู่ในพื้นที่เหลือเพียง 1 ส่วน
บริเวณที่ไอดี ถูกอัดเข้าไปให้เหลือเพียง 1 ส่วน ที่อยู่ด้านบนสุดของกระบอกสูบ เรียกบริเวณส่วนนี้ว่า ห้องเผาไหม้ หรือพื้นที่จุดระเบิด ไอดีที่ถูกอัดขึ้นไป มีทั้งความร้อน มีทั้งอากาศ มีทั้งเชื้อเพลิง เมื่ออยู่บนพื้นที่จุดระเบิด มีประกายไฟแรงสูงจากหัวเทียนกระโดดผ่าลงไปในไอดี ทำให้ไอดีเกิดระเบิดอย่างทันที่ทันใด และมีไฟลุกไหม้ไอดีจากใกล้จุดตรงประกายไฟกระจายไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ของห้องเผาไหม้เหนือกระบอกสูบ (เหมือนไฟลามทุ่ง คือไฟที่ไหม้ จะค่อยๆกระจายออกไปตามเชื้อเพลิงที่อยู่รอบๆ โดยไหม้เชื้อเพลิงที่อยู่ใกล้สุดก่อนแล้วจึงลามออกไป)
ลักษณะของการเผาไหม้จากการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ก็เหมือนกับการไหม้ของไฟทั่วไปคือค่อยๆลามออกไปหลังการจุดระเบิด ไม่ใช่เป็นลักษณะพอจุดไฟปุ๊ป เชื้อเพลิงระเบิดหายวับไป ถ้าจะเป็นแบบหายวับไปก็ต้องมีประกายไฟทั่วไปทุกโมเลกุลพร้อมกัน อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นได้ในลักษณะที่ความร้อนสูงเกิดขึ้นในตัวเชื้อเพลิงมาก จนเชื้อเพลิงลุกไหม้เองได้โดยไม่ต้องอาศัยประกายไฟในการเผาไหม้ ที่พบในเครื่องยนต์เรียกว่าสถานการณ์นี้ว่า 'การชิงจุดระเบิด'
วันที่: Sun Dec 22 13:06:30 ICT 2024
|
|
|