มารู้จักน้ำมันเครื่องกัน น้ำมันเครื่อง ประกอบด้วย น้ำมันพื้นฐาน 80% + สารเพิ่มคุณภาพ 20% โดยประมาณ
สารเพิ่มคุณภาพ คือ? สารที่ช่วยต่อต้านการสึกหรอ สารต่อต้านการทำปฏิกริยากับอ๊อกซิเจน ต่อต้านการเป็นยางเหนียว สารช่วยการกระจายตัวของน้ำมัน ป้องกันการรวมตัว สารชำระล้าง สารช่วยรักษาดัชนีความหนึดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่เปลี่ยนแปลงความหนึดตามอุณหภูมิของเครื่องยนต์
น้ำมันพื้นฐาน จะมีสารเพิ่มคุณภาพที่ช่วยระบายความร้อนให้เครื่องยนต์ โดยน้ำมัน พื้นฐาน เป็นได้ ทั้งน้ำมันเกรดพื้นฐานเกรดธรรมดา กับน้ำมันพื้นฐาน คุณภาพสูง หรือน้ำมันเกรดสังเคราะห์ โดยผู้ผลิตใช้น้ำมันพื้นฐานผสม กับสารเพิ่มคุณภาพ ผลิตเป็นน้ำมันเครื่อง
น้ำมันเครื่องเกรดสังเคราะห์ ผลิตจากน้ำมันดิบ ที่ผ่านกระบวนการกลั่นจนมีความบริสุทธิ์ และมีคุณภาพสูงกว่าน้ำมันเครื่องเกรดอื่นๆ ซึ่งช่วยการปกป้องเครื่องยนต์ ที่สูงกว่า รวมทั้งการประหยัด น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นและมันเครื่อง เกรดสังเคราะห์ ยังมีความเสถียรในขณะที่อุณหภิมิสูง ก็ยังลื่นไหล ได้ดีระยะใช้งาน 10,000 กม.
น้ำมันเครื่องเกรดกึ่งสังเคราะห์ คือผสมกันระหว่างน้ำมันเครื่องเกรดธรรมดา และเกรดสังเคราะห์ ให้ประสิทธิภาพการปกป้องสูงกว่าเกรดธรรมดา น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ควรใช้กับระยะ 5,000 กม. ไม่ใช่ 10,000 กม. ผู้ผลิตมักจะอ้างว่าใช้ได้ โดยไม่คำนึงถึงสภาพการใช้งานเครื่องยนต์ที่ไม่เหมือนกัน ทำให้เครื่องยนต์ พังเสียหายแบบค่อยๆ เสื่อม ค่อยๆเสีย จากการเอาน้ำมันเครื่อง 5,000 กม. มาใช้ 10,000 กม.
น้ำมันเครื่องเกรดธรรมดา มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ ค่อนข้างจะมีความหนึดสูง ขณะอุณหภูมิ ใช้งานสูง น้ำมันเครื่องธรรมดา หรือเรียก น้ำมันแร่ (Mineral Oil) หรือเรียก Synthetic ใช้วัตถุดิบในการ ผลิตจากน้ำมันดิบ หรือน้ำมัน ปิโตรเลียม มีอายุการใช้งาน ประมาณ 3,000 กม. ควรเปลี่ยนถ่าย
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ Semi-Synthetic ใช้วัตถุดิบในการผลิตจาก น้ำมันแร่ + น้ำมันพื้นฐาน สังเคราะห์มีอายุ การใช้งานได้ ประมาณ 5,000 กม. ควรเปลี่ยนถ่าย
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ Fully-Synthetic ใช้วัตถุดิบในการผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานสังเคราะห์ มีอายุการ ใช้งานได้ ประมาณ 10,000 กม. ควรเปลี่ยนถ่าย
ความหนึด มีส่วนสำคัญในการป้องกันการสึกหรอ ของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ คือถ้า น้ำมันเครื่องมี ความหนึดน้อยเกินไป ก็ไม่สามารถเป็นฟิล์มค้างบน ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้ตามต้องการ แต่ถ้าหนึดเกิน ไป จะปั๊มขึ้นไป หล่อเลี้ยงชิ้นส่วนเครื่องยนต์ไม่ทั่วถึง จากที่จะเห็นชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เป็นรอยหมุน หรือรอยไหม้สีน้ำเงินเทา หรือร่องรอยบนชิ้นส่วนที่มีการ เสียดสีกัน เนื่องจากน้ำมันเครื่องเข้าไม่ถึง หรือเข้าถึงแต่ไม่สามารถ เป็นฟิล์มค้างได้นานพอ เพื่อหล่อลื่นชิ้นส่วนตรงนั้นได้นาน
น้ำมันเครื่องชนิด เกรดเดี่ยว (Mono-grade) โดยSAE (Society of Automotive Engineers) หรือ สมาคมวิศวกรรม ยานยนต์ของอเมริกา แบ่งมาตรฐาน ค่าความข้นไส (ความหนืด) เป็น SAE0W, 5W, 10W, 15W, 20W, 25W W = Winter สำหรับใช้ในเขต หนาว (วัดค่าความหนืดในห้องทดลองที่อุณหภูมิ -25๐C) SAE 20, 30, 40, 40,50, 60 ใช้สำหรับเขตร้อน (วัดค่าความหนืดในห้องทดลองที่ อุณหภูมิ100๐C)
น้ำมันเครื่องเกรดรวม Multi-grade ถูกผลิตให้ใช้ได้ทั้งเขตร้อนและเขตหนาว โดยจะมีค่าความหนืด สูงทนต่อ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ได้ดีกว่าน้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว เช่น SAE 5W-40, 5W-30, 10W-30 เป็นต้น
จากน้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว เกรดรวม แต่ละเกรด ก็ยังต้องมีคุณสมบัติที่ บอกคุณภาพของน้ำมันเครื่อง แยกกัน ระหว่างเครื่องยนต์เบนซินหรือ เครื่องยนต์ดีเซล และคุณสมบัตินี้จัดแบ่งตามสภาพการใช้งาน โดยใช้ มาตรฐาน ของ API (American Petroleum Institute) สถาบัน ปิโตรเลียมอเมริกา
แบ่งตามประเภทของเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะใช้อักษร "S" (service station) นำหน้า เรียงลำดับ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ดังนี้ API SA, SB, SC, SD, SE, SF, SG, SH, SJ, SL, SM และปัจจุบัน คือ SN อักษรตัวหลังเป็นการ เปลี่ยนตามการพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้นของแต่ละช่วงปี
น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะใช้อักษร "C" (commercial service) นำหน้า เรียงลำดับ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ดังนี้ API CA, CB, CC, CD, CD-II, CE, CF-4, CF, CF-2, CG-4, CH-4, CI-4+ และสูงสุดในปัจจุบัน คือ CJ-4 ประเทศไทยไม่มี เกรด SA, SB, CA, CB จำหน่ายเนื่องจากน้ำมันมีคุณสมบัติต่ำ ไม่เป็นไป ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่องกำหนดลักษณะคุณภาพ ของน้ำมันหล่อลื่น API บอก คุณภาพของน้ำมันเครื่องยนต์ทั้งแบบ แยกขายชนิดเบนซิน หรือ ดีเซล แต่ก็มีน้ำมันเครื่องที่ API ระบุมาตรฐาน มีทั้งอักษร "S" และ "C" อยู่ด้วยกัน ซึ่งน้ำมันเครื่องนั้นสามารถใช้ได้กับ ทั้งเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล แต่ให้สังเกตุจาก คุณภาพชั้น ของ API นั้นขึ้นต้นด้วยอักษร "S" หรือ "C" และ ตัวอักษรที่ ตามมาตัวที่ 2 ว่าเป็น น้ำมันเครื่องที่พัฒนาเหมาะสำหรับรถรุ่นไหนเหมาะกับ รถของท่านหรือไม่ ทางที่ดีใช้น้ำมันเครื่องที่ API ระบุเฉพาะอย่างจะดีกว่า ตามชนิดของ เครื่องยนต์
ข้อมูลอ้างอิงจาก กรมธรุกิจพลังงาน- กระทรวงพลังงาน และจากคาสตรอล
น้ำมันเครื่องที่ขายในตลาดทั่วไป มีหลากหลายคุณสมบัติที่ราคา แตกต่างไปตามการทำการตลาดของแต่ละยี่ห้อ เช่น น้ำมันเครื่อง สังเคราะห์ มีทั้งที่ใช้วัตถุดิบจาก น้ำมันปิโตรเลียมผลิตเป็นน้ำมัน สังเคราะห์พื้นฐาน กับน้ำมันสังเคราะห์ ที่นำน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ พื้นฐาน มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติปกป้อง สูงขึ้น คุณภาพของน้ำมันเครื่อง ที่มีความหลากหลาย กับราคาที่หลาก หลาย มากจนเลือกไม่ถูก ก็ด้วยเหตุผลทางการตลาด และราคาขาย คุณภาพ คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องเกรดเดียวกัน ลำดับเดียวกัน ถูกใช้งาน กิโลเมตรที่สูงขึ้นสภาพงานที่แตกต่างกัน และมีราคา เป็นตัวแข่งขัน บอกอายุการใช้งานน้ำมันเครื่องเกรดต่ำใช้งานได้ นานขึ้น แต่ไม่ได้บอกว่า เครื่องยนต์สึกหรอเพิ่มขึ้นเท่าใดเครื่องยนต์ ไม่ได้เสียหายในทันที จากการ ยืดเวลา ยืดระยะทางการใช้งานน้ำมันเครื่อง เพราะการสึกหรอเป็น แบบค่อยเป็นค่อยไป แค่รอเวลา การซ่อมใหญ่เท่านั้น การอ้างถึงคุณภาพ เครื่องยนต์ที่ดีขึ้น ก็ไม่ใช่ หมายถึงน้ำมันเครื่องเกรดต่ำมีคุณสมบัติดีขึ้น
|
วันที่: 16-10-2024
|
|
|