ความร้อนของรถใช้แก็ส สูงกว่ารถใช้น้ำมัน หรือเปล่า ?
รถมันเคลื่อนที่ได้เพราะลูกสูบ เคลื่อนขึ้นเคลื่อนลง ไปทำให้ให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุนได้ เพลาข้อเหวี่ยง หมุนไปผ่านเกียร์ จากเกียร์ไปล้อ รถก็เคลื่อนที่ได้ แล้วลูกสูบมันเคลื่อนที่ขึ้นลง ได้ไง เขาก็เอา เชื้อเพลง อัดกับอากาศอัดลงไปบนหัวลูกสูบ แล้วใช้หัวเทียนประกายไฟจุด จนเกิดการลุกไหม้ ทำให้เกิดการระเบิดรุนแรงบนหัวลูกสูบ ลูกสูบก็กระเด้งลง ไปหมุนสิ่งต่างๆ ที่ว่ามา เด้งลงแล้ว ลูกสูบก็หมุนกลับขึ้นมาใหม่จากแรงเหวี่ยงเดิมที่มากับเพลาข้อเหวี่ยง เป็นอย่างนี้วนไปเรื่อย ตลอดระยะเวลาที่สตาร์ทเครื่องยนต์ ส่วนดีเซลหัวลูกสูบเกิดการลุกไหม้จนระเบิด ลูกสูบกระเด้งลงได้ จากการที่อากาศที่มาจากกรอง อากาศถูกอัดจนเกิดความร้อนจัด แล้วฉีดฝอยน้ำมันดีเซลลงไป มันก็เกิดเป็นเปลวไฟจน จุดระเบิด บนหัวลูกสูบได้ ส่วนกระบวนการที่ทำให้รถวิ่งได้หลังจากหัวลูกสูบระเบิดลง ก็เป็นเหมือนกันกับ เครื่องเบนซิน เชื้อเพลิง LPG, CNG ก็ทำงานเหมือน เบนซิน
ก็ว่าเรื่องความร้อนเลยแล้วกัน ว่า LPG,CNG อุณหภูมิ ที่เราใช้รถสูงกว่า เบนซินหรือเปล่า ? คำตอบแรก คือ ไม่สูงกว่า ดูจากอะไร ใครๆ ก็ดูได้ เกจ ความร้อนที่แสดงบนหน้าปัดรถยนต์ทุกคัน ที่ใช้แก็ส ดูได้ตอนสลับเชื้อเพลิงเบนซิน กับแก็ส เกจความร้อนไม่เปลี่ยน อุณหภูมิเหมือนๆ เดิม ระหว่างใช้แต่ละเชื้อเพลิง ถ้าจะมองหาความแตกต่าง จากรถสภาพต่างๆกัน ก็ดูเอาจากรถติดแก็ส ป้ายแดงเลยแล้วกัน ระดับเกจวัดความร้อน ก็เหมือนเดิม ไม่เปลี่ยน อุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์ ก็เหมือนเดิมไม่เปลี่ยน รถทั่วไปอุณหภูมิทำงานเครื่องยนต์อยู่ที่ ประมาณ 85๐C - 95๐C แล้วรู้ ได้ไงว่า อุณหภูมิเครื่องยนต์ทำงานที่อุณหภูมิที่ว่า ยกตัวอย่างที่ชัดเจนสุด ก็ดูที่วาล์วน้ำเครื่องยนต์ เปิดให้น้ำร้อนในเครื่องยนต์ ไปลดอุณหภูมิลง ในหม้อน้ำหน้ารถ บนวาล์วน้ำจะเขียนอุณหภูมิไว้ที่ 86๐C สำหรับ TOYOTA แล้วที่ใครๆ ก็รู้ว่า ถ้าอุณหภูมิน้ำสูงกว่า 100๐C น้ำเดือนกลายเป็นไอ หมดหม้อน้ำแล้ว ความร้อนขึ้น ฮีทขึ้น
ถ้างั้นความร้อนที่รู้สึกว่าร้อนกว่าตอนใช้แก็ส เมื่อเทียบกับเบนซินเวลาจับฝากระโปรงรถ มาจาก ไหน ก็มาจากความร้อนสะสมขณะใช้แก็ส เพราะเวลาใช้แก็ส เชื้อเพลิงเผาไหม้หมดจด สมบูรณ์ ไม่มีคราบอะไรเหลือ ที่วาล์วกับบ่าวาล์วเลย ทำให้ความร้อนเกิดการสะสมนานตลอดเวลาใช้แก็ส วาล์วกับบ่าวาล์ว จึงเสื่อมไว แต่เมื่อแลกค่าซ่อมวาล์วกับบ่าวาล์ว กับเงินที่ประหยัดจากการใช้ แก็ส คุ้มกว่ากันมาก การซ่อมก็เป็นเหมือนการซ่อมตามระยะไปมากกว่า ค่าใช้จ่ายในการซ่อม เล็กน้อยเมื่อเทียบกับ จำนวนเงินที่ประหยัดจากการใช้เชื้อเพลิงแก็ส
แล้วเวลาใช้น้ำมันทำไมพังช้ากว่า ไม่ใช่วาล์วกับบ่าวาล์วไม่พัง ถึงแม้ใช้น้ำมันล้วน ก็พังเหมือนกัน แต่ช้ากว่าแก็ส ดูจากแท็กซี่ ก็ได้ ที่แต่ก่อนใช้น้ำมันล้วน ก็ยังต้องซ่อมวาล์วกับบ่าวาล์วอยู่ดี เพราะ แท็กซี่วิ่งช้าทั้งวัน จำนวนชั่วโมงใช้งานแทบจะ 24 ชม. ในเขตรถติด เกิดความร้อนสะสมที่วาล์วกับ บ่าวาล์วเหมือนกัน
การจุดระเบิดบนหัวลูกสูบ ต้องใช้ เชื้อเพลิง กับความร้อน หรือประกายไฟ พอมีอุณหภูมิสูงขึ้น เปลวไฟติด มันก็เลยมีไฟลุกไหม้ขึ้น มีอุณหภูมิ มี 2 อุณหภูมิ อุณหภูมิจุดวาบไฟ (FLASH POINT) กับอุณหภูมิจุดติดไฟ (FIRE POINT) โดยทั้ง 2 อย่าง เกิดขึ้นตอนเกิดการจุดระเบิดบนหัวลูกสูบ เครื่องยนต์
จุดวาบไฟ คืออุณหภูมิต่ำที่สุดของเชื้อเพลิง ที่ถูกทำให้สูงขึ้น ร้อนขึ้น แล้ว เชื้อเพลิงนั้นเกิด เป็นไอ น้ำมัน หรือไอเชื้อเพลิงขึ้นมา+กับ อากาศ จนทำให้เกิดการจุดติดไฟ เหนือผิวหน้าของ น้ำมันหรือ แก็ส สรุปก็คือเปลวไฟที่เกิดขึ้นจากไอเมื่อเชื้อเพลิงถูกความร้อน
อุณหภูมิจุดติดไฟ ก็เกิดต่อเนื่องจากจุดวาบไฟ คือจุดที่อุณหภูมิต่ำที่สุด ของน้ำมัน หรือแก็ส หรือ เชื้อเพลิง เมื่อถูกความร้อนที่ ผิวหน้าของมันแล้ว เกิดเป็นเปลวไฟลุกไหม้อย่าง ต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 5 วินาที โดยไม่ดับ ปกติอุณหภูมิ จุดติดไฟ จะสูงกว่า จุดวาบไฟ ประมาณ 5-35 ๐C (ข้อมูลจาก kittipong Yaovaja, Feb 17, 16)
ตารางนี้อ่านได้ว่า หัวเทียนสปาร์คกระแสไฟจุดระเบิดเบนซิน ได้ง่ายกว่า LPG เพราะอุณหภูมิจุดติด ไฟต่ำกว่า LPG ถ้าหาก หัวเทียนมีแรงดันไฟฟ้าต่ำลง กว่าตอนใหม่ๆ ก็จะจุดแก็สยาก หัวเทียนจึง ควรใหม่ตามระยะที่จุดติดแก็สไม่ยาก และขณะเดียวกันคอยล์จุดระเบิดก็จะไม่เสื่อมง่าย นี่ก็ใช้ตอบคำถามว่ารถกระตุกตอนใช้แก็ส แต่ใช้น้ำมันไม่เห็นเป็นไร ก็เพราความเข้มของไฟปลาย หัวเทียนไม่พอสำหรับจุดติดแก็สที่อัดอยู่ในห้องเผาไหม้เครื่องยนต์ ที่ต้องใช้ความเข้มข้นของกระแส ไฟฟ้าปลายหัวเทียนสูง หรือไม่ลดลงจากปกติมากหนัก หัวเทียนที่ใช้เกินระยะกำหนด ก็กินไฟ เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป ความต้านทานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ทำคอยล์จุดระเบิดเสื่อมเร็วกว่าปกติได้อีก เพราะไฟไม่ออกก็ไปอั้นสะสมความร้อนที่ทองแดงของคอยล์จุดระเบิด คอยล์จุดระเบิดก็พัง เสื่อม
|
วันที่: Sun Dec 22 13:18:16 ICT 2024
|
|
|